หนึ่งคนว่าย

สรุปเรื่องราวดราม่า กรณีโตโน่ จะว่ายข้ามน้ำโขง “หนึ่งคนว่าย หลายคนให้”

เมื่อ 22 ตุลาคม 2565 โตโน่-ภาคิน คำวิลัยศักดิ์ หลังเป็นดราม่ามาเนิ่นนาน จะเปลี่ยนบทบาทจากนักร้อง มาเป็นนักว่ายน้ำ ที่มครๆ ต่างจับตามอง โดยทั้งนี้ โตโน่ ได้ตัดสินใจ ทำการว่ายน้ำ เพื่อเปิดรับบริจาคเงิน เพื่อซื้อ อุปกรณ์ทางการแพทย์ ให้กับโรงพยาบาลทั้ง 2 ฝั่งโขง และยังทำการเรียกร้อง ให้คนกลับมารัก ในระบบนิเวศของแม่น้ำโขง อีกด้วย

แต่โดยรวมแล้ว กิจกรรมนี้ ไม่ได้ง่ายอย่างที่โตโน่คิดขนาดนั้น เพราะโตโน่-ภาคินต่างต้องเจอกับสารพัดคำวิพากษ์วิจารณ์ และดราม่าอื่นๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้งบประมาณ กับทรัพยากรของภาครัฐ ความอันตรายในการทำกิจกรรม แลพการกุศลที่ไม่ได้มีประโยชน์ ในเชิงโครงสร้าง จนทำให้หลายคนสับสน ว่าสรุปแล้วมันเกิดอะไรขึ้น กันแน่

หนึ่งคนว่าย
โดยวันนี้ทางเรา ได้ทำการรวบรวมเหตุการณ์ ทั้งหมดไว้แล้วดังนี้

1. ปลายเดือนสิงหาคม โตโน่-ภาคิน คำวิลัยศักดิ์ นักร้องและนักแสดงชื่อดัง ประกาศทำภารกิจ ‘One Man & The River หนึ่งคนว่าย หลายคนให้’ โดยจะว่ายข้ามแม่น้ำโขงไปกลับไทย-ลาว ระยะทาง 15 กิโลเมตร ในวันที่ 22 ตุลาคม 2565 พร้อมเปิดรับบริจาคเพื่อนำเงินไปช่วยเหลือ รพ.นครพนม และ รพ.เแขวงคำม่วน สปป.ลาว

“มันคงเป็นกิจกรรมที่หนักที่สุดครั้งนึงในชีวิตของผม แต่ผมคิดว่ามันคุ้มนะครับ ถ้าจะพอช่วยให้คุณหมอคุณพยาบาลทำงานได้ง่ายขึ้น มีอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับช่วยเหลือคน รวมถึงสัตว์ และที่สำคัญที่สุด ถ้าพวกเราช่วยกันทำให้แม่น้ำทุกสายของทั้งไทยและลาวสวยงามขึ้น มันคงเป็นอะไรที่มีค่าที่สุดเลยล่ะ” ดาราดังระบุ

2. นี่ไม่ใช่ภารกิจทางน้ำครั้งแรกของโตโน่ ก่อนหน้านี้ในปี 2563 เขาเคยทำกิจกรรม ‘One Man & The SEA’ ว่ายน้ำข้าม 12 เกาะในทะเลภาคใต้ เพื่อปลุกจิตสำนึกให้รักในระบบนิเวศ และเปิดให้บริจาคเพื่อสมทบทุนทางการแพทย์แก่สัตว์ทะเลและโรงพยาบาลริมชายฝั่ง แต่ไม่สำเร็จตามเป้าเพราะได้รับบาดเจ็บและรัฐบาลดันประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

3. ฟังเผินๆ ดูเหมือนกิจกรรมรับบริจาคทั่วไป หลายคนก็ให้กำลังใจ สนับสนุน และชื่นชมในความมุ่งมั่น พร้อมโอนเงินบริจาคหวังร่วมสะพานบุญ แต่อีกหลายคนก็วิพากษ์วิจารณ์การว่ายน้ำของโตโน่ด้วยหลายเหตุผล เช่น การพัฒนาด้านสาธารณสุขคือหน้าที่ของรัฐบาล, การว่ายน้ำสร้างภาระให้เจ้าหน้าที่ที่ต้องดูแล, การว่ายน้ำช่วงมรสุมอันตราย, โตโน่ทำตัวเป็นนักบุญด้วยทุนคนอื่น เป็นต้น

4. ดาราหนุ่มถูกวิจารณ์และตั้งคำถามหนักมากจน #โตโน่ แวะเวียนขึ้นเทรนด์ทวิตเตอร์ยาวนานหลายสัปดาห์ อย่างไรก็ดี โตโน่ไม่เคยย่อท้อ เดินหน้าฝึกซ้อมเต็มกำลังเพื่อ ‘ความฝันของหมอและพยาบาล’ ที่ตั้งเป้ายอดเงินบริจาคไว้ 10 ล้านบาท

5. แม้ยืนยันว่าจะทำต่อไป ข้อคำถามและเสียงวิพากษ์วิจารณ์คงสร้างแรงกระเพื่อมถึงโตโน่ไม่มากก็น้อย เพราะนักแสดงคนนี้เองถึงกับต้องอัดวีดีโอชี้แจงและตอบคำถามในหลายประเด็นผ่านเฟซบุ๊ก ‘เก็บรักษ์’ พร้อมๆ กับตอบคำถามสื่อมวลชนถึงประเด็นที่ถูกวิจารณ์อย่างหนัก

เช่น ประเด็นอันตราย โตโน่ชี้แจงว่า เขาไม่กลัวอันตรายเพราะเชื่อว่าหมอและพยาบาลเสี่ยงกว่า นอกจากนี้ เขาให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวไทยรัฐว่า “ไม่ใช่เรื่องที่ว่าผมจะว่ายน้ำไหวมั้ย หรือว่าผมกลัวหรือเปล่า อันนั้นเป็นเรื่องส่วนตัวผมครับ”

หรือ ประเด็นสร้างภาระให้เจ้าหน้าที่ โตโน่เผยว่า ตนไม่ได้ใช้ทีมกู้ภัยในพื้นที่เลย ใช้ทีมกู้ภัยตัวเองที่ได้จากสปอนเซอร์ อย่างไรก็ดี เขาเล่าว่ามีทีมฉุกเฉินจากโรงพยาบาลนครพนมที่อาสามาช่วยเองด้วย โดยดาราหนุ่มอธิบายว่า “เพราะเขาอยากจะช่วย เขาดีใจที่เราจะไปช่วยเขา”

6. ที่ต้องเป็น รพ.นครพนม และ รพ.แขวงคำม่วน โตโน่ให้เหตุผลว่า เพราะนครพนมเป็นจังหวัดที่กำลังขยาย มีแรงงานและนักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้ามาจนอาจเกิดเหตุที่เครื่องมือไม่พอมากๆ ได้ พร้อมชี้ว่าโรงพยาบาลแทบทุกที่งบไม่พออยู่แล้ว

อย่างไรก็ดี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนครพนมเพิ่งออกมาเผยว่า

โรงพยาบาลไม่ได้เรียกร้องกิจกรรมนี้ ส่วนงบประมาณภาครัฐก็เพียงพอในการดูแลประชาชนอยู่ แต่ก็ยืนยันว่ากิจกรรมไม่ใช่ภาระกับโรงพยาบาลนครพนม

7. ที่เล่าไปยังไม่ใช่ทั้งหมด เพราะคลื่นลูกใหญ่ที่ซัดโตโน่หนักสุด เกิดขึ้นหลังผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งโพสต์เอกสารเตรียมงานที่ขอความช่วยเหลือจากหลายหน่วยงานท้องถิ่นเพื่อเตรียมรับกิจกรรม ‘หนึ่งคนว่าย’ ตามที่ปรากฎในเอกสาร เรียกได้ว่าแทบทุกส่วนราชการระดับท้องถิ่นต้องร่วมรับผิดชอบในกิจกรรมว่ายน้ำหาเงินของโตโน่

เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม, รพ.นครพนม, สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นครพนม, เทศบาลเมืองนครพนม, องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนม, หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำน้ำโขง, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดนครพนม, ตำรวจภูธร จ.นครพนม ไปจนถึง สำนักงานพระพุทธศาสนา จ.นครพนม

ขอความช่วยเหลืออะไร? มีตั้งแต่จัดรถพยาบาลพร้อมบุคลากรทางการแพทย์เพื่อติดตามทีมว่ายน้ำ สนับสนุนอาหารสำหรับเจ้าหน้าที่และผู้ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม เตรียมสถานที่ ตั้งทุ่นลอยน้ำ จัดเตรียมรถตู้ ตั้งเวทีแสง/สี/เสียง และเตรียมนางรำ

8. เอกสารที่หลุดออกมา นำมาสู่การตั้งคำถามว่าเอางบประมาณส่วนไหนมาจ่าย เงินที่จัดกิจกรรมเป็นเงินจากไหน ทำไมภาครัฐถึงเกี่ยวข้องด้วย ด้านผู้จัดการส่วนตัวโตโน่ก็รีบแถลงว่าไม่ได้ใช้งบประมาณภาครัฐ แต่เป็นการสร้างความร่วมมือระหว่างทุกภาคส่วนในกิจกรรมการกุศล

ขณะที่ วชิรเชษฐ์ กิตติ์พรศิริกุล รองนายกเทศบาลเมืองนครพนม ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว pptv ว่า ‘แทบ’ ไม่ใช้งบประมาณรัฐ “เป็นภารกิจที่เราแทบไม่ได้ใช้เงินงบประมาณใดทั้งสิ้น ส่วนใหญ่เป็นสิ่งของที่เรามีอยู่แล้ว พร้อมที่จะสนับสนุนกิจกรรมนี้ เพื่อประชาสัมพันธ์จังหวัดนครพนม”

9. แม้จะออกมาบอกว่าไม่ได้ใช้เงินงบประมาณของรัฐ แต่คำถามที่ตามมาก็คือ มีหลักฐานอื่นมายืนยันหรือไม่ว่าไม่ได้ใช้งบของรัฐ บางส่วนก็ตั้งข้อสังเกตว่า การเบียดเบียนเวลาทำงานของข้าราชการ (ทั้งวันเตรียม และวันจริงที่เป็นวันหยุด) การใช้กำลังคนที่มีไปจัดการสิ่งของที่มีอยู่แล้ว ก็คือการใช้ทรัพยากรของรัฐอยู่หรือเปล่า

10. ยังไม่รวมการมีอภิสิทธิ์ได้เข้าใช้อุโมงค์น้ำจากคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแบบไม่เสียค่าใช้จ่าย ที่มีนักศึกษาปริญญาตรีออกมาเผยว่าไม่มีโอกาสได้ใช้สักครั้งแม้จะจ่ายค่าเทอม หลากหลายประเด็นวิจารณ์ที่เกิดขึ้นกับโตโน่ในช่วงนี้ ยิ่งทำให้สังคมตั้งคำถามถึงกิจกรรมที่เกิดขึ้น

11. กรณีนี้ หากมองดีๆ จะพบว่าใจความสำคัญ คือ การที่ผู้คนตั้งคำถามต่อภาครัฐ ว่าทำไมถึงปล่อยให้ประชาชนต้องทำการกุศลเพื่อประชาชนด้วยกันเอง ทั้งๆ ที่มันเป็นหน้าที่หลักของรัฐที่ต้องดูแล พัฒนา และปรับปรุงโครงสร้างต่างๆ ภายในประเทศ

ตลอดจนการตั้งข้อสังเกตว่า เข้าใจเจตนาดีว่าอยากช่วยโรงพยาบาล ก็มันก็ช่วยได้แค่ที่เดียว ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างใดใดระดับประเทศ และจะยิ่งทำให้รัฐเพิกเฉยต่อหน้าที่ที่ต้องทำ

ขอบคุณแหล่งที่มา : thematter.co

สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ : bushhessle.com