โควิด-19 “ชลบุรี” 1 สัปดาห์ติดเชื้อ 10,648 คน เสียชีวิต 12 คน

โควิด-19 คือ โรคติดต่ออุบัติใหม่ซึ่งเกิดจากไวรัสโคโรนาชนิดที่มีการค้นพบล่าสุด โดยไวรัสและโรคอุบัติใหม่ชนิดนี้ไม่เป็นที่รู้จักเลยก่อนที่จะมีการระบาดในประเทศจีน เมื่อช่วงเดือนธันวาคมปี ค.ศ. 2019 ขณะนี้โรคโควิด-19 มีการระบาดใหญ่เป็นวงกว้างจนส่งผลกระทบเป็นอย่างมากในด้านสาธารณสุขและเศรษฐกิจของแทบทุกประเทศทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน

โควิด-19 เว็บไซต์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี (สสจ.ชลบุรี) เผยแพร่ข้อมูลรายงานสถานการณ์

โควิด-19 สสจ.ชลบุรี กางตัวเลข สัปดาห์ที่ 20 (14-20 พ.ค.) พบผู้ติดเชื้อจำนวน 10,648 คน และมีผู้เสียชีวิตรายใหม่ 12 คน พบส่วนใหญ่อายุมาก มีโรคประจำตัว บางคนไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี (สสจ.ชลบุรี) เผยแพร่ข้อมูลรายงานสถานการณ์โควิด-19 ประจำสัปดาห์ที่ 20 ระหว่างวันที่ 14-20 พ.ค.นี้ พบผู้ติดเชื้อจำนวน 10,648 คน เฉลี่ยวันละ 1,522 คน และมีผู้เสียชีวิตรายใหม่ 12 คน พบผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ 19 คน และปอดอักเสบ 13 คน

ผู้เสียชีวิตเพศหญิง

รายที่ 1 เพศหญิง อายุ 69 ปี โรคประจำตัว โรคไตเรื้อรัง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง ประวัติเสี่ยง สัมผัสผู้ป่วยยืนยันในครอบครัว วันที่เริ่มป่วย วันที่ 27 เม.ย.ที่ผ่านมา เสียชีวิต วันที่ 13 พ.ค. ประวัติไม่เคยรับวัคซีน

รายที่ 2 เพศหญิง อายุ 74 ปี โรคประจำตัว ความดันโลหิตสูง หัวใจ หอบหืด ไตวายระยะ ประวัติเสี่ยง สัมผัสผู้ป่วยยืนยันในครอบครัวเริ่มป่วย วันที่ 12 พ.ค.ที่ผ่านมา เสียชีวิต วันที่ 15 พ.ค.นี้ ประวัติวัคซีน เข็ม 1 เมื่อวันที่ 3 ธ.ค.2564 เข็ม 2 เมื่อวันที่ 4 ม.ค.2565 และเข็ม 3 เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2565

รายที่ 3 เพศหญิง อายุ 75 ปี โรคประจำตัว ความดันโลหิตสูง ประวัติเสี่ยง สัมผัสผู้ป่วยยืนยันในครอบครัว เริ่มป่วย วันที่ 13 พ.ค.เสียชีวิต วันที่ 19 พ.ค.2566 ประวัติวัคซีน เข็ม 1 เมื่อวันที่ 4 ส.ค.2564 และเข็ม 2 เมื่อวันที่ 25 ส.ค.2564

ผู้เสียชีวิตเพศชาย

รายที่ 4 เพศชาย อายุ 88 ปี โรคประจำตัว ต่อมลููกหมากโต ภาวะโลหิตจาง มีประวัติเสี่ยง ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด เริ่มป่วยวันที่ 12 พ.ค. เสียชีวิต วันที่ 14 พ.ค.ประวัติวัคซีน เข็ม 1 วันที่ 10 ส.ค.2564 และเข็ม 2 วันที่ 19 ต.ค.2564

รายที่ 5 เพศชาย อายุ 44 ปี โรคประจำตัว ภาวะโลหิตจางที่เกิดจากการแตกทำลายของเม็ดเลือดแดง ประวัติเสี่ยง ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด เริ่มป่วย วันที่ 2 พ.ค.ที่ผ่านมา เสียชีวิต วันที่ 15 พ.ค.นี้ ไม่ได้ฉีดวัคซีน

รายที่ 6 เพศชาย อายุ 90 ปี โรคประจำตัว ต่อมลูกหมากโต ประวัติเสี่ยง สัมผัสผู้ป่วยยืนยันในครอบครัว เริ่มป่วย 7 พ.ค.ที่ผ่านมา เสียชีวิต 14 พ.ค.นี้ ประวัติวัคซีน เข็ม 1 เมื่อวันที่ 21 ก.ค.2564 เข็ม 2 เมื่อวันที่ 10 ส.ค.2564 เข็ม 3 เมื่อวันที่ 20 ธ.ค.2564 และเข็ม 4 เมื่อวันที่ 11 เม.ย.2565

รายที่ 7 เพศชาย อายุ 51 ปี โรคประจำตัว ความดันโลหิตสูง ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องประวัติเสี่ยง ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด เริ่มป่วยวันที่ 6 พ.ค.ที่ผ่านมา เสียชีวิต วันที่ 16 พ.ค.นี้ ประวัติวัคซีน ไม่ฉีด

รายที่ 8 เพศชาย อายุ 73 ปี โรคประจำตัว โรคหัวใจ ประวัติเสี่ยง ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด เริ่มป่วย วันที่ 29 เม.ย.ที่ผ่านมา เสียชีวิต วันที่ 15 พ.ค. ประวัติการฉีดวัคซีน เข็ม 1 เมื่อวันที่ 7 ก.ย.2564 และเข็ม 2 เมื่อวันที่ 4 ต.ค.2564

รายที่ 9 เพศชาย อายุ 64 ปี โรคประจำตัว จิตเวช ประวัติเสี่ยง ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด เริ่มป่วย วันที่ 16 พ.ค.ที่ผ่านมา เสียชีวิต วันที่ 18 พ.ค.ประวัติวัคซีนไม่ฉีดวัคซีน

รายที่ 10 เพศชาย อายุ 79 ปี โรคประจำตัว ความดันโลหิตสูง ประวัติเสี่ยง สัมผัสผู้ป่วยยืนยันในครอบครัว เริ่มป่วย วันที่ 29 เม.ย.ที่ผ่านมา เสียชีวิต วันที่ 18 พ.ค.นี้ ประวัติวัคซีน เข็ม 1 วันที่ 4 ส.ค.2564 เข็ม 2 วันที่ 2 ก.ย. 2564 และเข็ม 3 วันที่ 18 ก.พ.2565

รายที่ 11 เพศชาย อายุ 85 ปี โรคประจำตัว ไตวายระยะ 4 ประวัติเสี่ยง สัมผัสผู้ป่วยยืนยันในครอบครัว เริ่มป่วย วันที่ 9 พ.ค.ที่ผ่านมา เสียชีวิต วันที่ 19 พ.ค.นี้ ประวัติวัคซีน เข็ม 1 วันที่ 4 ก.ค.2564 เข็ม 2 วันที่ 23 ก.ย.2564 เข็ม 3 วันที่ 26 ธ.ค.2564 เข็ม 4 วันที่ 19 เม.ย.2565 และเข็ม 5 วันที่ 20 ส.ค.2565

รายที่ 12 เพศชาย อายุ 66 ปี โรคประจำตัว ปฏิเสธโรคประจำตัว ประวัติเสี่ยง ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด เริ่มป่วย วันที่ 10 พ.ค.ที่ผ่านมา เสียชีวิต 18 พ.ค.นี้ ประวัติไม่ได้ฉีดวัคซีน

โควิด-19

โควิด-19 เตือนกลุ่มเสี่ยงโรคประจำตัวฉีดวัคซีน

จากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น สสจ.ชลบุรี ขอให้ประชาชนปฏิบัติตนเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ และเคร่งครัดมาตรการป้องกันโรคโควิด-19

ดังนั้น ผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 ที่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อยให้รักษาแบบผู้ป่วยนอก บางรายอาจต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตามดุลยพินิจของแพทย์ และผู้ติดเชื้อมีความจำเป็นต้องปฏิบัติตนตามมาตรการ DMH อย่างเคร่งครัด

นอกจากนี้ แนะนำให้ประชาชนทุกคน “ปฏิบัติตนตามมาตรการ DMH และเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ประจำปี” เน้นย้ำผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัวซึ่งยังมีความเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิต และอาการรุนแรงเมื่อได้รับเชื้อ จึงควรรับวัคซีนให้ครบตามเกณฑ์ และรับการกระตุ้นตามระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อลดอาการรุนแรง ลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต และสำหรับผู้ที่สร้างภูมิต้านทานได้ไม่ดี ควรได้รับการฉีดภูมิต้านทานสำเร็จรูป หรือ Long-Acting Antibody (LAAB) โดยติดต่อขอรับบริการได้ที่หน่วยบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน

สำหรับผู้ที่มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค หญิงตั้งครรภ์ เด็กอายุ 6 เดือน-4 ปี ผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยโรคธารัสซีเมียและผู้คุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยโรคอ้วน หรือผู้มีน้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัม หรือค่าดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 35 และผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ควรได้รับวัคซีนโควิด-19 พร้อมกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ก่อนฤดูฝนตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป โดยติดต่อขอรับบริการได้ที่หน่วยบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน

โควิดสายพันธุ์ลูกผสม ครองสายพันธุ์หลักในไทย

กรมวิทย์ฯ เผยสัดส่วนสายพันธุ์ลูกผสม XBB ในไทย พบผู้ติดเชื้อกระจายทุกเขตสุขภาพ รอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ( 1-7 พ.ค.66) ถอดรหัสพันธุกรรมเชื้อก่อโรคโควิด พบเป็นสายพันธุ์ลูกผสม คิดเป็น 86.8% อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อัพเดทสถานการณ์การเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด-19 และสายพันธุ์ที่เฝ้าติดตามในประเทศไทย โดยระบุ 2 สัปดาห์ก่อน องค์การอนามัยโลก (WHO) ปรับชนิดสายพันธุ์ที่ติดตามใกล้ชิดโดยเพิ่ม XBB.1.16* เป็นสายพันธุ์ที่เฝ้าระวัง หรือ Variants of Interest (VOI) ล่าสุดต้นเดือน พ.ค. 2566 องค์การอนามัยโลกปรับเพิ่ม XBB.1.9.2* เป็นสายพันธุ์ที่ต้องจับตามอง หรือ Variants under monitoring (VUM)

  • VOI 2 สายพันธุ์ ได้แก่ XBB.1.5* และ XBB.1.16*
  •  VUM 7 สายพันธุ์ ได้แก่ BA.2.75, CH.1.1, BQ.1, XBB*, XBB.1.9.1*, XBB.1.9.2* และ XBF

สถานการณ์สายพันธุ์เชื้อ SARS-CoV-2 ทั่วโลกอ้างอิงจากฐานข้อมูลกลาง GISAID ในรอบสัปดาห์ 10 – 16 เม.ย.2566 พบสัดส่วนของสายพันธุ์แตกต่างจากรอบ 1 เดือนก่อนหน้า ดังนี้

  • XBB.1.5* รายงานจาก 106 ประเทศ คิดเป็นร้อยละ 46.7 ลดลงจากร้อยละ 49.3
  • XBB.1.16* รายงานจาก 40 ประเทศ คิดเป็นร้อยละ 5.7 เพิ่มจากร้อยละ 2.0
  • XBB*, XBB.1.9.1* และ XBB.1.9.2* มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
  • BA.2.75*, CH.1.1*, BQ.1* และ XBF* มีแนวโน้มลดลง
เช็กสถานการณ์โควิดไทยรอบสัปดาห์

สถานการณ์ล่าสุดในไทยรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 1-7 พ.ค.2566 มีการถอดรหัสพันธุกรรมเชื้อก่อโรคโควิด-19 จำนวน 372 คน พบเป็นสายพันธุ์ลูกผสม 323 คน คิดเป็น 86.8% โดยพบผู้ติดเชื้อกระจายทุกเขตสุขภาพ

สัดส่วนสายพันธุ์ที่ตรวจในสัปดาห์นี้ พบสายพันธุ์ลูกผสมมากกว่า 74 % ในทุกเขตสุขภาพ ยกเว้นเขตสุขภาพที่ 5 ซึ่งมีตัวอย่างส่งตรวจน้อย พบมากที่สุดเป็นสายพันธุ์ XBB.1.16* คิดเป็น 27.7 % รองลงมาคือสายพันธุ์ XBB.1.5* คิดเป็น 22.0 % ในขณะที่ BN.1* ซึ่งเคยเป็นสายพันธุ์หลักในไทยตั้งแต่ช่วงสิ้นปี 2565 มีสัดส่วนลดลง

นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า ตามที่ WHO ได้ประกาศยุติภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขโลก ของโรคโควิด-19 ที่ใช้มานานกว่า 3 ปี หลังพบตัวเลขผู้เสียชีวิตลดลง และผู้คนกลับมาใช้ชีวิตปกติ อย่างไรก็ตาม WHO ยังย้ำแม้สถานการณ์ฉุกเฉินจะจบลง แต่ยังคงเฝ้าระวังเชื้อก่อโรคโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ที่เป็นอันตรายต่อสถานการณ์สาธารณสุขโลกต่อไป รวมทั้งไทยเองยังคงมีมาตรการรับมือโควิด-19 เช่นเดิม

สำหรับประชาชนแนะนำให้ระมัดระวังในการปฏิบัติตัว การล้างมือ สวมหน้ากากอนามัยหากต้องไปร่วมกิจกรรมที่มีคนจำนวนมากหรือไปในที่สาธารณะ และการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ยังมีความจำเป็น โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางหรือกลุ่มเสี่ยง 608 จะช่วยลดอาการหนักและเสียชีวิตได้

กรมวิทย์ฯ ได้ประสานขอให้โรงพยาบาลทั่วประเทศส่งตัวอย่างผู้ป่วยโควิด-19 ทั่วประเทศ ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมาตรวจสายพันธุ์เพิ่มขึ้น ขอให้ความมั่นใจว่ายังคงเฝ้าระวังติดตามการกลายพันธุ์ของเชื้อ SARS-CoV-2 อย่างต่อเนื่อง และเผยแพร่บนฐานข้อมูลสากล GISAID อย่างสม่ำเสมอ

สถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบัน ยังพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงเสียชีวิต ส่วนใหญ่เป็นคนที่มีอายุเยอะ มีโรคประจำตัวและไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกัน อยากให้ทุกคนช่วยกันปฏิบัติตัวเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้ออย่างเคร่งครัดตามมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 ถ้าหากตรวจพบเชื้อให้รีบรักษาทันที

ที่มา

https://www.thaipbs.or.th/news/content/328061

https://www.thaipbs.or.th/news/content/327563

https://www.pexels.com/th-th/photo/3992933/

https://www.pexels.com/th-th/photo/3951615/

 

ติดตามอ่านข่าวสังคมได้ที่  bushhessle.com    สนุบสนุนโดย ufabet369.net